พวกผมแค่ชมชอบในรสชาติของสุรา เรื่องราวที่เขียน เริ่มต้นจากความชอบและความสนใจ ที่นำไปสู่การค้นหา
เมื่อได้รับรู้ และทดลองด้วยตัวเองแล้วก็อยากแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ และคนอื่นๆ ที่สนใจในเรื่องเดียวกันครับ

ข้อคิดเห็นที่ให้เกี่ยวกับเรื่องการร่ำสุราในแต่ละประเภท เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ ที่ได้มาจากการลองของด้วยตัวเอง
ที่แค่อยากรู้ และอยากลองตามประสาครับ ผิดถูกประการใดก็คงไม่สามารถรับรองได้ครับ ขอน้อมรับคำแนะนำ และติชมทุกประการครับ


*** หมายเหตุ *** สงวนสิทธิ์สำหรับการอ่านและนำไปใช้ประกอบบทความเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกอย่างครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

Hibiki Japanese Harmony 40% Alc/Vol.

Hibiki N.A.S. จากค่าย Suntory เท่าที่ทราบน่าจะออกมาด้วยกันทั้งหมด 3 รุ่นครับ

1. Hibiki Japanese Harmony วางขายทั่วไป
2. Hibiki Japanese Harmony Master Select วางขายเฉพาะใน duty free บางประเทศ
3. Hibiki Deep Harmony 2017 Limited Edition วางขายเฉพาะในญี่ปุ่น (เหมือนผีได้ยินแต่ชื่อแต่ไม่ค่อยมีใครได้เจอตัวเป็นๆ)

Hibiki นั้นถูก Blended ขึ้นครั้งแรกในปี 1989 เพื่อเป็นการฉลองครบรอบโรงกลั่นของ Suntory อายุครบ 90 ปี
การออกแบบขวด ฉลาก และการใช้สีถูกวางแนวคิดเพื่อส่งต่อวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น เรียกว่าใส่ใจในรายละเอียดทุกอย่างก็ว่าได้
ขวดถูกออกแบบให้มี 24 เหลี่ยม เพื่อสื่อถึงฤดูกาลต่างๆ ทั้ง 24 ฤดูของญี่ปุ่น
ฉลากใช้กระดาษสาที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการแบบโบราณ
บริเวณคอขวดใช้สีม่วง ที่เป็นสีที่จะใช้ได้เฉพาะชนชั้นสูงของญี่ปุ่นในสมัยโบราณ เพราะหายากมาก

ข้อมูลคร่าวๆ ก็มีตามนี้ครับ คราวนี้เราก็จะว่ากันตามลิ้นบ้านๆ กันต่อครับ

เริ่มกันที่สี ทองออกแนวทองแดงอยู่พอควร

กลิ่น น้ำผึ้ง เมเปิ้ลไซรัป แม้จะเป็น N.A.S. แต่กลิ่นตัวน้องแอลก็ค่อนข้างน้อยแต่ก็แหลมแยงจมูกให้พอรู้ว่ามีนะ

รสชาติ  Oak ควันเบาๆ หวาน Toffee caramel รวมๆแล้วจัดว่าค่อนข้างดี และคุ้มค่าเลยกับความเป็น Hibiki N.A.S.

Aftertaste ค่อนข้างสั้นไปสักหน่อย แต่ก็ชวนให้ยกต่อเพื่อค้นหาและทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆ

Conclusion จัดว่าคุ้มค่าในราคาที่ได้จาก Duty Free หรือจากญี่ปุ่น แต่ถ้าราคาในบ้านเราแล้วจัดว่าแรงไปสักหน่อย
ราคาเดียวกันอาจหา SM. ดีๆ ได้ 1-2 ขวดเลยก็ว่าได้ แต๋ก็ยังถูกว่า 12-17-21 ที่เห็นราคาขายในบ้านเราแล้วนึกว่า 1 เยน = 1 บาท
จิบแบบเพียวได้ ผสมก็คงดี จิบยาวๆ ในวันสบายๆ หรือเพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากภาระกิจประจำวันก็ได้สบายๆ

ป.ล. 1. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

ป.ล. 2. งานดองเหมือนเดิมบันทึกการลองไว้เมื่อวันที่ 11-2-2561

Cutty Sark Storm 40% Alc/Vol.

สำหรับ Cutty Sark Black ขวดนี้จัดเป็น Blended Whisky อีกตัวจากค่าย Cutty Sark
ข้างกล่องระบุถึง Malt Whisky 2 ตัวที่นำมาเป็นส่วนผสมหลัก คือ Highland Park กับ Macallan คุ้นๆ ไหมครับ
สองตัวนี้ก็เป็นส่วนผสมหลักของ Blended Whisky ของอีกเจ้าที่คุ้นเคยกับนักดื่มบ้านเรา ก็คือ Famous Grouse ไงครับ
ถ้าจะเทียบในความเป็นแนวสายควันก็คงต้องไปเทียบกับตัว Black Grouse จากค่าย Famous Grouse กัน่
ส่วนของ Grain Whisky นั้นไม่ได้ระบุถึง ข้อมูลเบี้องต้นคร่าวๆ ก็ประมาณนี้
ว่าแล้วเรามาลองเล่ากันแบบประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่าครับ

สี ทองอำพันออกแนวเหลืองทองเข้ม เหมือนพวกทองโบราณ

กลิ่น กลิ่นตัวน้องแอลค่อนข้างแหลมพอประมาณ มะละกอสุก Citrus นิดๆ กลิ่นส่าเหล้าเจือขึ้นมาพอประมาณ
กลิ่นแบบนี้เมื่อเทียบส่วนผสมหลักที่ใช้ Malt Whisky จากแหล่งเดียวกันแล้ว ในเรื่องกลิ่นผมชอบกลิ่นของ Black Grouse มากกว่า

รสชาติ กลิ่น Oak นำมาชัดเจน ควันเบาๆ ลักษณะค่อนไปทาง Highland Park มากกว่า Macallan ตามด้วยความหวานของคาราเมลไหม้
รวมๆ ถือว่าสมดุลย์ค่อนข้างดีพอใช้ ถ้าเอาไปทำ Cocktail น่าจะเหมาะกว่าดื่มแบบ Neat หรือผสม

Aftertaste ค่อนข้างสั้น ทิ้งควันไม้ไหม้จางๆๆๆๆ ไว้ในปากพอประมาณ กับความหวานขมของคาราเมลไหม้

Conclusion น่าจะเหมาะสำหรับทำ Cocktail มากกว่า แต่จะจิบแบบ Neat ก็พอได้อยู่ระดับหนึ่ง ผสมนี่อย่าเลยน่าจะจืดและเปลืองเหล้าอยู่

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

งานดองเขียนไว้เมื่อ 9-2-2561

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

Johnnie Walker Double Black 40% Vol/Alc.

สำหรับ JWDB ออกสู่ตลาดครั้งแรกในช่วงปลายปี 2010 ในช่วงแรกนั้นออกมาเป็น Limited Edition ขายเฉพาะใน Duty Free เท่านั้น
แต่ในช่วงต้นปี 2011 เริ่มมีเข้ามาจำหน่ายในตลาดทั่วไปมากขึ้น แต่ก็ยังเป็น Limited Edition เหมือนกับเป็นการทดลองตลาดไปด้วย
ใน Lot หลังๆ ก็ตัดคำว่า limited edition ออกไปกลายเป็นรุ่นจำหน่ายทั่วไปลากยาวมาจนถึงทุกวันนี้
Double Black ชื่อก็คงบอกได้ระดับหนึ่งว่ามีความเข้มข้นมากกว่าตัว Black Label ตัวปกติแน่นอน

คหสต. จากที่ได้ลองมาตั้งแต่ยังเป็น Limited Edition ผมชอบรุ่นแรกๆ มากกว่า รู้สึกว่ากลิ่นควันชัดเจนกว่า และมีความเข้มข้นมากกว่า
ให้สัมผัสรวมๆ ที่ดีกว่าโฉมปัจจุบันอยู่พอควร

ว่าแล้วมาลองเล่ากันตามประสาลิ้นบ้านๆ ดีกว่าครับ

สี ออกแนวทองแดงเข้มต่างจากตัว Black Label ที่ออกทองใสๆ

กลิ่น โดยรวมแล้ว อโรม่าจัดว่าดีงาม citrus วนิลา น้ำผึ้ง ควันจางๆ แต่ชัดเจนกว่าตัว BL เจือด้วยกลิ่นหวานๆ ของไซรัป

รสชาติ เผ็ดนำ หวานตาม ฝุ่นนิดๆ ขี้เถ้าหน่อยๆ ควันไม้ไหม้บางๆ จัดว่าเข้มข้นกว่า BL ระดับหนึ่ง

Aftertaste ค่อนข้างยาว ทิ้งความเผ็ดเบาๆ ฉ่ำๆ ในปาก ความหวานบนปลายลิ้น ควันบางๆ ไว้ในปากค่อนข้างยาว
คหสต. DB มีความเป็น malty มากกว่า Grain นิดหน่อยครับ

Conclusion จิบแบบเพียวน่าจะเป็นความลงตัวที่ดีที่สุดในการดื่ม JWDB ขวดนี้
รสชาติจัดว่าดี สำหรับขวดนี้ผมเปิดทิ้งไว้มาค่อนข้างนานทำให้ดื่มง่ายพอควรครับ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

Johnnie Walker Black Label 40% Vol/Alc.

เจ้าตลาดที่หลายคนคุ้นเคยและเลือกหยิบเป็นเหล้าสามัญประจำบ้านกัน JWBL เป็นที่นิยมของนักดื่มทั่วโลกเลยก็ว่าได้
ในบ้านเราเองก็มักเป็นตัวเลือกต้นๆ นอกจากนี้ยังติด 1 ใน 101 Whiskies to try before you died อีกด้วย

ตามประวัติแล้ว JWBL ถูกสันนิษฐานว่าเริ่มปรุงขึ้นครั้งแรกในปี 1867 โดย Alexander Walker
ในช่วงแรกๆ นั้นใช้ชื่อว่า Old Highland Whisky มีรุ่น Black Label และ Gold Label
ออกแบบขวดให้อยู่ในทรงสี่เหลี่ยมตั้งแต่แรก (อาจดูแปลกในสมัยนั้น) ก็เพื่อลดพื้นที่บรรจุกล่อง และลดค่าขนส่ง
สำหรับ JWBL ได้คะแนนค่อนข้างสูงถึง 95.5 จาก Jim Murray's Whisky Bible 2016

ข้อมูลคร่าวๆ ก็ว่ากันไปละ มาเข้าเรื่องลองเล่ากันดีกว่าครับ

สี ออกแนวทองอำพันค่อนข้างสดใส

กลิ่น ผมรินพักไว้ค่อนข้างนานเพราะตอนนี้ใหม่กลิ่นน้องแอลค่อนข้างแรง
ได้กลิ่นควันจางๆ citrus พวกส้ม มะนาว น้ำผึ้งจางๆ วนิลาเบาๆ ขี้เถ้าหน่อยๆ (กลิ่น+รสขี้เถ้าจะชัดขึ้นเมื่อผสมน้ำ) ไอทะเลอีกนิดๆ

รสชาติ ขี้เถ้า หนังเก่าๆ ยาสูบจางๆ หวานคาราเมลท๊อฟฟี่นิดๆ รวมๆ แล้วจัดว่างานดี แถมด้วยกลิ่น sherry oak บางๆ ด้วยนะเออ

Aftertaste ค่อนข้างยาวพอประมาณ ควันบางเบา ทิ้งความหวานของ toffee caramel ไว้บนปลายลิ้น
แต่ความรู้สึกโดยรวมค่อนไปทาง grain whisky มากกว่า malt whisky

Conclusion Neat ได้ ผสมยิ่งดี ถือเป็นเหล้าสามัญประจำบ้านได้สบายๆ
จิบแบบสบายนี่น้ำแข็งเกล็ดเต็มแก้ว BL 1/3 ที่เหลือจะโซดาหรือน้ำเปล่าก็ตามชอบ
คหสต. 1. ถ้าได้โซดาเย็นๆ จะเรียกความสดชื่นได้ค่อนข้างดีเลย
คหสต. 2. รู้สึกว่ารุ่นเก่ารสชาติดีกว่า
คหสต. 3. รุ้สึกว่าขวดเล็ก 200 ml. ที่ขายใน 7-11 รสชาติดีกว่าขวดใหญ่

ป.ล. ความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

Bell's Blended Scotch Whisky 40% Alc/Vol.

หลังจากได้อ่านที่คุณตือเขียนมาก็ซื้อมาดองไว้หลายเดือนอยู่สบโอกาสก็เอามาลองเล่าให้กันฟังบ้างดีกว่าครับ

Blended Scotch Whisky ที่ว่ากันว่าขายดีที่สุดบนเกาะอังกฤษขวดนี้จะมีดียังไง มาลองเล่ากันตามประสาลิ้นบ้านๆ กัน

สี ทองใสๆ แนวสีทองอำพัน

กลิ่น กลิ่นแรกที่ได้คือ กลิ่นดอกนมแมว เจือด้วยกลิ่นแนว Citrus วนิลาเบาๆ กลิ่นส่าเหล้านิดๆ กลิ่นค่อนไปทาง Grain Whisky

รสชาติ จับควันได้จางๆ ตามด้วยความหวานขมคล้ายคาราเมลไหม้ เนื้อเหล้าจัดว่าค่อนข้างบาง โล้นๆ ไม่ค่อยมีอะไรมากมาย
เผ็ดร้อนด้วยความแรงของน้องแอล จิบน้ำตามได้ความหวานของไซรัปตีกลับขึ้นมา

Aftertaste ไม่มาไม่มาย เรียบง่ายตามประสา blended whisky แต่ก็พอได้อยู่ระดับหนึ่ง

Conclusion จัดว่าดี ค่อนข้างคุ้มกับเงินที่จ่าย มีเนื้อเหล้าให้เสพได้ระดับหนึ่ง อย่างน้อยน่าจะ value กว่าตัวฉลากแดงเจ้าตลาด
จิบแบบเพียวพอได้เลย ผสมก็อาจจะเปลืองๆ สักหน่อยเพราะเนื้อเหล้าค่อนข้างจะบางไปนิด

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องตามประสาคนชอบลองเล่าครับ

Jura Prophecy Heavily Peated 46% Vol.

เคยชิม Jura 10 เมื่อหลายปีก่อน ก็มีความประทับใจในระดับหนึ่ง สำหรับ SM จากเกาะอันแสนโดดเดี่ยวนี้
รอบนี้ได้รุ่นพิเศษมาลองอีกครั้งมีคำว่า "Heavily Peated" กำกับมาด้วย ตัว 10 ปีก่อนหน้านี้กลิ่น Peat จัดว่าค่อนข้างเบา
สำหรับ Jura Prophecy ตัวนี้ได้คะแนนจาก Jim Murray's Whisky Bible 2016 ถึง 90.5 คะแนน
นับว่าค่อนข้างสูงกว่ารุ่นอื่นๆ จากค่ายนี้อยู่พอควร

ว่าแล้วมาลองเล่าตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่า

สี ออกแนวทองแดงค่อนข้างเข้มอยู่พอควร

กลิ่น Peat ค่อนข้างชัด ควันไม้เปรี้ยวๆ กลิ่นออกแนวเกลือทะเลปนๆ มากับกลิ่นคล้ายน้ำมันหอม
เจือด้วยกลิ่นหวานๆ ของ Butterscotch กลิ่นตัวน้องแอลค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับตัวเลขน้องแอลที่พกมาถึง 46%

รสชาติ ติดออกแนวหวานขม ควันบางๆ peat ที่ว่าเป็น Heavily Peated ก็ยังไม่หนักหน่วงอย่างที่คิด
ไม่เข้มข้นจ๋าเหมือน Laphroaig / Ardbeg ยังคงมีความ indy ในแบบของตัวเองค่อนข้างชัดเจน

Aftertaste ก็ยังคงงงๆ  ไม่เข้าใจความ Indy ของเกาะนี้เหมือนเช่นเดิม สั้นๆ ห้วนๆ ทิ้งความเผ็ดเบาๆ ควันหางๆ ไว้ในปาก

Conclusion ยังคงงง และไม่เข้าใจในความ indy ของเกาะนี้เหมือนเดิม คงต้องเก็บประสบการณ์ให้มากกว่านี้อีกพอควรแล้วค่อยกลับมาทบทวนอีกครั้ง

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

Glenfiddich 12 40% Alc/Vol.

Glenfiddich 12 น่าจะเป็น SM ที่เพื่อนๆ คุ้นเคยกันดี ผมเองลองและเคยเล่าไว้เมื่อช่วงที่เริ่มทำบอร์ดนี้ใหม่ๆ
ก็นานพอสมควรละ วันนี้ขอเอามาทบทวนและเล่าสู่กันฟังอีกรอบคงไม่เบื่อไปก่อนนะครับ
สำหรับตัวนี้ถือเป็น Core Range ของค่าย Glenfiddich เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากลองเริ่มต้นเข้าสู่สาย SM
เมื่อหลายปีก่อนราคาถือว่าไม่แรงมาก แต่เดี๋ยวนี้ด้วยภาษี และค่าเงินทำให้ราคาจัดว่าแรงไปหน่อยละ
แต่เชื่อว่าเมื่อได้ลองก็คงไม่ผิดหวังกันสักเท่าไหร่ ดื่มแบบเพียวได้ ผสมดี สำหรับคนที่จะลองเข้าสู่ทางสายไกลเส้นนี้
คะแนน 85.5 จาก Jim Murray's Whisky Bible 2016 ถึงจะไม่สูงมาก แต่ด้วยความที่ไม่ซับซ้อน ดื่มง่าย
ก็คงโดนใจผู้อยากเริ่มต้น และหาความแตกต่างจาก Whisky ในตลาดทั่วไปได้ไม่ยาก

ว่าแล้วมาเข้าเรื่องกันตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่าครับ

สี ทองอำพันรค่อนข้างสวย Bright Gold ดูสะดุดตาดีครับ

กลิ่น แนวสดชื่น ลูกแพร ผลไม้รสเปรี้ยว Citrus น้ำผึ้งจางๆ กลิ่นออกแนวหวานๆ คล้ายคาราเมลมากกว่าไซรัป

รสชาติ หวานนำ ตามด้วยความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศเบาๆ เจือด้วยกลิ่นควันจางๆ รู้สึกมันๆ ครีมๆ (Creamy) อยู่ในปากพอควร

Aftertaste ทิ่งความหอมแนวผลไม้รสเปรี้ยว (citrus) ควันจางๆ ความหวานคาราเมลบนลิ้น
รวมถึงกลิ่น Oak หอมๆ เบาๆ ไว้ในปากค่อนข้างนานพอควร

Conclusion เป็น Speyside ที่บ่งบอกถึงความเป็น Speyside ได้อย่างชัดเจน เหมาะสำหรับคนที่อยากเริ่มค้นลองอะไรใหม่ๆ
ที่ต่างจากตลาดทั่วไป หลังจากที่ลองไปครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว กลับมาลองอีกครั้งก็ให้ความรู้สึกเหมือนได้เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้พบกันนาน
เจอกันเมื่อไหร่ก็พูดคุยหยอกล้อให้ความคุ้นเคย และสนิทสนมกันเหมือนเดิม

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

Jameson Black Barrel 40% Alc/Vol.

Blended Irish Whiskey รุ่นพิเศษจากค่า Jameson ผลิตออกมาเพียงปีละครั้ง
โดยนำไปบ่มในถัง Ex-Bourbon ที่ผ่านการเผาซ้ำอีกครั้งเพื่อชุบชีวิตถัง
และดึงเอารสชาติความหวานจากเนื้อไม้กลับมาใช้งานอีกครั้ง
คำว่า "Black Barrel" ก็หมายถึงกรรมวิธีดังกล่าวนี้เองครับ
ว่าแล้วเรามาเข้าเรื่องกันตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่า

สี ทองอำพันค่อนข้างสวยทีเดียว

กลิ่น ด้วยกรรมวิธีการผลิตของ Irish Whiskey ที่ผ่านการกลั่น 3 ครั้ง ทำให้กลิ่นออกแนวบางๆ
เมื่อผ่านการบ่มด้วยถัง Ex-Bourbon ที่ผ่านการเผาซ้ำด้วยกรรมวิธีที่ว่ามา ทำให้ซับกลิ่นต่างๆของถังออกมาได้เยอะพอควร
กลิ่นที่จับได้คล้ายกับกลิ่นของ Gentleman Jack อยู่พอควร วนิลาหอมๆ ไม้ไหม้
กลิ่นคล้ายไปทาง Bourbon พอควรครับ

รสชาติ ออกไปทาง Bourbon พอควร ถ่านนิดๆ ไม้ไหม้หน่อยๆ วนิลา คาราเมล เผ็ดเบิร์นเบาๆ คล้ายพริกไทย
รวมๆ แล้วมีความคล้ายกับ Gentleman Jack ค่อนข้างมาก (คหสต.)

Aftertaste ทิ้งกลิ่นคล้ายถ่าย วนิลาหอมๆ จางๆ วนๆ อวลอยู่ในปาก
เนื้อเหล้าค่อนข้างบางเบาด้วยกรรมวิธีการผลิตของ Irish Whiskey
ที่ชอบคือกลิ่นไม้ไหม้บางๆ และความหวานของคาราเมลบนลิ้นที่ทิ้งไว้ค่อนข้างยาวพอควร

Conclusion จัดว่าค่อนข้างคุ้ม แปลกใหม่ดี ถือเป็นการทดลองที่กล้า แหวกแนว และใช้ประโยชน์จากการชุบชีวิตถังได้อีกครั้ง
เนื้อเหล้าค่อนข้างบางไปสักหน่อย ถ้าชอบ Gentleman Jack ก็คงรักตัวนี้ได้ไม่ยาก
จิบแบบ Neat หรือ On the rock น่าจะลงตัวที่สุดละ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ตามประสาลิ้นบ้านๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

อัพเดท 101 Whiskies to Try Before You Die

หลังจากเล่มแรกออกมาหลายปี ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง เนื่องจากว่ามีหลายรุ่นเลิกผลิต และมีรุ่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเข้ามาครับ
มีอะไรเปลี่ยนไปเราลองมาดูกันดีกว่าครับ

1. Aberfeldy 21 Years Old
2. Aberlour A'Bunadh
3. Amrut Fusion
4. anCnoc 16 Years Old
5. Ardbeg 10 Years Old
6. Ardbeg Uigeadail
7. Auchentoshan Classic
8. Balblair Vintage 1989
9. Balcones Baby Blue
10. Ballantine's 17 Years Old
11. Basil Hayden's
12. BenRiach Curiositas Peated
13. Benromach Organic
14. Bernheim Original Wheat Whiskey
15. Black Bottle
16. Black Grouse
17. Bladnoch Distiller's Choice
18. BNJ Bailie Nicol Jarvie
19. Bowmore Tempest
20. Bruichladdich The Laddie Ten
21. Buffalo Trace
22. Bunnahabhain 18 Years Old
23. Bushmills 16 Years Old
24. Cameron Brig
25. Caol Ila 12 Years Old
26. Chivas Regal 25 Years Old
27. Clynelish 14 Years Old
28. Crown Royal
29. Cutty Sark Original
30. Cutty Sark 18 Years Old
31. Dalwhinnie 15 Years Old
32. Deanston 12 Years Old
33. Dewar's 12 Years Old
34. Dewar's Signature
35. Eagle Rare 17 Years Old
36. Elijah Craig 12 Years Old
37. Glen Breton Rare
38. Glenfarclas 21 Years Old
39. Glenfarclas 105
40. Glenfiddich 18 Years Old
41. Glenfiddich 30 Years Old
42. Glenglassaugh Evoluion
43. Glengoyne 21 Years Old
44. The Glenlivet 21 Years Old Archive
45. Glenmorangie Quinta Ruban
46. Green Spot
47. Hakushu 18 Years Old
48. Hibiki 17 Years Old
49. Hibiki 30 Years Old
50. Highland Park 18 Years Old
51. Highland Park 21 Years Old
52. Highland Park 30 Years Old
53. Highland Park 40 Years Old
54. Isle of Jura Superstition
55. Jameson 18 Years Old Limited Reserve
56. Johnnie Walker Black Label
57. Johnnie Walker Blue Label King George V Ediotion
58. Johnnie Walker The Spice Road
59. Kavalan Concertmaster
60. Kilchoman
61. Knob Creek
62. Lagavulin 16 Years Old
63. Laphroaig Quarter Cask
64. Longrow CV
65. Lord Elcho 15 Years Old
66. Mackinlay's The Journey
67. Mackmyra
68. Maker's Mark
69. Mellow Corn
70. Monkey Shoulder
71. Mortlach 16 Years Old
72. Nikka All Malt
73. Oban 14 Years Old
74. Old Pulteney 17 Years Old
75. Redbreast
76. Scapa 16 Years Old
77. Sheep Dip
78. Smokehead Extra Black
79. Speyburn Solera 25 Years Old
80. Springbank 10 Years Old
81. St George's Chapter 6
82. Talisker 10 Years Old
83. Talisker 18 Years Old
84. The Balvenie PortWood 21 Years Old
85. The Balvenie Thirty
86. The Balvenie Tun 1401
87. The Dalmore 12 Years Old
88. The Dalmore Cigar Malt Reserve
89. The Macallan Gold
90. The Naked Grouse
91. The Society's Special 14 Years Old Blend
92. The Tweeddale Blend 12 Years Old
93. Thomas H. Handy Sazerac Rye
94. Tobermory 15 Years Old
95. The Tyrconnell Single Malt
96. Van Winkle Family Reserve Rye
97. Wild Turkey Rare Breed
98. Woodford Reserve
99. Yamazaki 12 Years Old
100. Yamazaki 18 Years Old
101. Yoichi 10 Years Old

มีเปลี่ยนแปลงไปหลายตัวอยู่เหมือนกันนะครับ
เพื่อนๆ มีได้ลองตัวไหนไปบ้างแล้วหรือเปล่าครับ มาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561

Cragganmore 14 40% Alc/vol.

Limited Edition ที่บรรจุลงขวดในปี 2010 ในจำนวนจำกัดเพียง 13000 ขวด
สำหรับขวดนี้ผมเคยได้ลองครั้งหนึ่งนานมาละจากเพื่อนในกลุ่มมักเหล้าคลับเรานี่แหละครับ
จำได้ว่าตอนนั้นประทับใจมากจนอยากได้มาไว้สักขวด แต่ก็หาไม่ได้
จนวันหนึ่งพวกเราในกลุ่มนี่แหละกรุแตกผมถึงได้มีโอกาสครอบครอง และเอามาเล่าสู่กันฟัง
Craggmore จัดเป็น 1 ใน 6 Classic Malt ค่าย Diageo จากย่าน Speyside ครับ
เข้าเรื่องตามประสาลิ้นบ้านๆ กันเลยดีกว่า

สี ออกทางทองแดงพอสมควรไม่ออกแนวทองใสๆ เหมือนรุ่น 12 ปีที่เป็น mass market

กลิ่น เมื่อรินพักไว้ ให้อโรม่าที่จัดว่าดีงาม เรียกน้ำลายมาสออยู่ในปากรอได้เลย คาราเมล อบเชย วนิลา
กลิ่นตัวน้องแอลไม่ค่อยมีมารบกวนเลย (น่าจะเพราะเปิดทิ้งไว้ค่อนข้างนานแล้วด้วย)

รสชาติ เผ็ดเล็กน้อยตามประสาเครื่องเทศพวกอบเชย วนิลา คาราเมล ติดออกไปทางฉ่ำ ไม่แห้ง กองฟาง อย่างตัว 12 ปี
เจือน้ำลงไปได้กลิ่นถัง Sherry Oak มากขึ้น ความเผ็ดร้อนลดลง ได้ความหวานมาแทน

AfterTaste ทิ้งความเผ็ดแบบซ่าๆ ไว้ในปาก พร้อมกับกลิ่นเครื่องเทศหอมๆ อวลๆ วนๆ อ้อยอิ่งอยู่ในปากค่อนข้างนานเลบ

Conclusion จัดเป็นตัวที่น่าสนใจมาก ดื่ม Neat ให้ความเผ็ดร้อน หยอดน้ำลงไปให้ความสดชื่นสดใส
ดื่มได้ทั้งสองแนวแล้วแต่ว่าวันไหนอยากได้อารมณ์แบบไหน

***ข้อเสียที่สำคัญ*** คือ ผลิดมาแค่ 13000 ขวด หมดแล้วจะหาใหม่จากไหนได้นิ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

งานดองบันทึกเมื่อ 3/11/2560 วันลอยกระทง

Bowmore Legend 40% Alc/Vol.

N.A.S. จากค่าย Bowmore ผ่านการบ่มด้วยถัง Ex-Bourbon ครั้งนี้ขออนุญาตไม่เน้นข้อมูลครับ

สี ทองใสๆ อ่อนๆ

กลิ่น ค่อนข้างหอมอวล Floral, น้ำผึ้ง. กลิ่นควันจางๆ Peat เบาๆ ไม่ค่อยเข้มข้นเหมือนตัวพวกที่ผ่านการ Aging
กลิ่นแนวสดชื่นคล้ายกลิ่นไอทะเล เจือด้วยกลิ่นไอโอดีนหน่อยๆ รวมแล้วกลิ่นจัดว่าค่อนข้างดีเลย

รสชาติ Smoke Peat หอมๆ เบาๆ ไม่รุนแรง เจือด้วยความเผ็ดเล็กน้อยของเครื่องเทศ พริกไทย ขมนิดๆ เหมือนเปลือกมะนาว
หยดน้ำลงไปเล็กน้อยกลิ่นเปิดขึ้นมาอีกพอควร กลิ่นมะนาว (lime) น้ำผึ้งชัดเจนขึ้น ได้รสหวานของน้ำผึ้งผสมมะนาว กลิ่นควันเบาลง
ดื่มง่ายขึ้น ให้สัมผัสที่ค่อนข้างดีกว่า Neat พอควรเลย

AfterTaste ค่อนข้างสั้น ทิ้งความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศไว้พอควร สำหรับการดื่มแบบ Neat
แต่เมื่อหยอดน้ำลงไป ดื่มง่ายขึ้น ทิ้งความหวานหอมอวล ควันเบาๆ ไว้ในปากค่อนข้างนานขึ้นพอประมาณ

Conclusion เจือน้ำลงไปเล็กน้อยน่าจะลงตัวกว่าดื่มแบบ Neat ค่าตัวกับรสชาติจัดว่าค่อนข้างคุ้มอยู่แต่อาจหายากสักนิด
แต่ดื่มแบบ Neat ก็ไม่ได้ขี้เหล่อะไรมากมาย แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนเลยก็ได้ครับ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคย

งานดองบันทึกเมื่อ 17-11-2560

William Birnen-Schnaps 35% Alc/Vol.

การบ้านจากเฮีย City  จัดมากให้ครับ สำหรับตัวนี้จัดเป็น Spirits จาก Austria
เรียกว่า Schnaps เป็นภาษาเยอรมัน ใช้เรียกเหล้าที่ทำมาจากผลไม้
สำหรับขวดนี้ทำมาจากลูกแพร ถ้าเป็นขวดใหญ่จะใส่ลูกแพรไว้ข้างในด้วยครับ เรียกง่ายๆ ว่า Pear Brandy ก็ได้เช่นกันครับ
ว่าแล้วมาเข้าเรื่องตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่า

สี ใส เพราะไม่ผ่านการบ่มในถังใดๆ

กลิ่น จัดว่าหอมอ่อนๆ ทั้งที่พกความแรงมาถึง 35 ดีกรี แต่ก็ไม่ได้มีกลิ่นตัวน้องแอลสักเท่าไหร่
กลิ่นหวานๆ คล้ายน้ำผลไม้ ไม่มีกลิ่นส่าเหล้ารบกวนเหมือน Spirits บางตัว

รสชาติ ดื่มง่ายกว่าที่คิดไว้ จิบแล้วเหมือนดื่มน้ำลูก Pear ที่ผสมเหล้า แต่ก็ไม่มีกลิ่นเหม็นของส่าเหล้ามารบกวน
จัดว่ากลิ่นหอมอ่อนๆ น่าจะคล้ายกับพวก Vodka ที่ผสมกลิ่นต่างๆ ลงไป (อันนี้ความเห็นส่วนตัวเพราะไม่เคยลองครับ)

AfterTaste ทิ้งกลิ่นลูกแพรหอมๆ อวลๆ วนๆ ในปากพอประมาณ ดีกว่าพรุนบรั่นดีอีกตัวที่เฮียพกมาฝาก (ตัวนั้นเดี๋ยวไว้เล่าให้ฟังอีกทีครับ)

Conclusion แปลกใหม่ดี เหล้าผลไม้บ้านเราหากว่าต่อยอดดีๆ ทำกลิ่นส่าเหล้าให้น้อยลงสักหน่อย คหสต. ผมเชื่อว่าสู้ได้สบายๆ

ป.ล. ความเห็นทั้งหมดที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องครับ

งานดองอีกเหมือนกัน บันทึกไว้เมื่อ 28-7-2560

Johnnie Walker Green Label 15 Yo 43% Alc/Vol.

หายหน้าไปนานพอควรกลับมาส่งงานแบบรัวๆ เลยละกันครับ
Blended Malt อีกตัวจากค่าย Johnnie Walker ที่หายจากตลาดไประยะหนึ่งตอนนี้กลับมาขายกันอีกรอบ
สำหรับ Green Label ใช้ส่วประกอบจาก 4 โรงกลั่นในเครือ Diageo ประกอบด้วย
1. Talisker
2. Linkwood
3. Cragganmore
4. Caol Ila
สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างลงตัวสำหรับนักดื่มหน้าใหม่ที่เข้าสู่ทางสาย Malt Whisky
ว่าแล้วเรามาเล่าสู่กันฟังตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่า

สี ออกแนวทองแดงหน่อยๆ ไม่ใช่แนว Amber Gold เหมือนตัว Island Green 
ส่วนหนึ่งคงเพราะอายุของ malt whisky ที่นำมาเป็นส่วนผสมที่มีอายุอย่างน้อย 15 ปี

กลิ่น ออกแนว Floral กว่าตัว Island Green ออกแนวหอมฟรุ้งๆ พวกดอกไม้ ไม้จันทร์ วนิลา
เจือด้วยกลิ่นควันไม้หอมๆ กลิ่นออกแนวหวานๆ จำพวกไซรัป ส่วนกลิ่นตัวน้องแอลจัดว่าค่อนข้างจาง

รสชาติ สัมผัสแรกคือความหวาน ตามด้วย ความเผ็ดร้อนของพริกไทย มาพร้อมกับกลิ่นหอมฟรุ้งๆ
Balance จัดว่าค่อนข้างดีงาม ควันไม้หอมๆ เบาๆ ทิ้งความเผ็ดร้อน พร้อมกับกลิ่นควันไม้ไว้ในปากพอประมาณ

Aftertaste ไม่ค่อยยาวมา แต่ก็น่าประทับใจ ยกดื่มแต่ละครั้งไม่ค่อยเหมือนกันสักเท่าไหร่ ทำให้รู้สึกน่าค้นหาดีครับ

Conclusion สำหรับตัวนี้ น่าจะออกแบบมาเพื่อแนะนำ Malt Whisky ให้นักดื่มได้ทดลอง ได้รู้จัก คุ้นเคย
ก่อนจะก้าวเข้าสู่โลกมืดของ Single Malt จัดว่าดื่มง่าย แต่ก็มีความซับซ้อนในระดับหนึ่งให้พอได้ค้นหาครับ
จิบแบบ Neat ได้ น้ำแข็งก้อนใหญ่ๆ สักก้อนก็น่าจะพอได้ 
ผสมไม่ค่อยอยากแนะนำสักเท่าไหร่ เท่าที่เคยลองผสมแล้วจะได้กลิ่นเหม็นเขียวพอควร

ป.ล. ความเห็นทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

การบ้านดองเขียนบันทึกไว้ตั้งแต่ 16-7-2560