พวกผมแค่ชมชอบในรสชาติของสุรา เรื่องราวที่เขียน เริ่มต้นจากความชอบและความสนใจ ที่นำไปสู่การค้นหา
เมื่อได้รับรู้ และทดลองด้วยตัวเองแล้วก็อยากแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ และคนอื่นๆ ที่สนใจในเรื่องเดียวกันครับ

ข้อคิดเห็นที่ให้เกี่ยวกับเรื่องการร่ำสุราในแต่ละประเภท เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆ ที่ได้มาจากการลองของด้วยตัวเอง
ที่แค่อยากรู้ และอยากลองตามประสาครับ ผิดถูกประการใดก็คงไม่สามารถรับรองได้ครับ ขอน้อมรับคำแนะนำ และติชมทุกประการครับ


*** หมายเหตุ *** สงวนสิทธิ์สำหรับการอ่านและนำไปใช้ประกอบบทความเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และไม่อนุญาตให้คัดลอกบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกอย่างครับ

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

Black Grouse Alpha การบ้านค้างส่ง Part 3

ตัวสุดท้ายของวัน International whisky day เป็น Black Grouse Alpha จากสำนักนก Famous Grouse ที่เรารู้จักกันดีมีทั้งเทพอย่างโรง Highland Park และป๋า Macallan ภายใต้ล่มเงา Edrington Group ซึ่งหากให้ผมพูดถึงค้ายนกส่วนตัวผมชอบ Black Grouse รุ่นธรรมดาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเพราะเป็น Blended Whisky สายควันในราคาย่อมเยา จำได้สมัยรู้จักกันใหม่ๆ ราคาหลักร้อยแต่รสชาติหลักพัน วันนี้ได้กลับมาลองแถมเป็นรุ่น Limited อีกโชคดีจริงๆ

Appearance: สีออกทองแดงอ่อน ขากลาง-ใหญ่ ไหลลงมาไม่เร็วไม่ช้า

Aroma: น้ำผึ้ง วนิลา คลาเมล เปลือกไม้ ติดกลิ่นเบคอนนิดๆ

Taste: เผ็ดมาตรงกลางลิ้น กลิ่นพริกไทยขึ้นโพรงจมูก หวานมาตอนปลาย กลิ่นควันขี้เท่า น้ำผึ้งป่าจางๆ
With Water: ความเผ็ดยังมีอยู่ กลิ่นควันชัดเจนกระจายไปทั่วปาก

Finish: จบแบบเผ็ดริมฝีปากและกลางลิ้น ตามด้วยหวาน Dry body กลิ่นไม่ค่อยเหลือ

สรุป: หากเป็นแฟนสายควันและมีงบไม่เยอะก็ถือว่าเป็นตัวที่น่าสนใจทีเดียวแต่หากเทียบกับตัวธรรมดาตัว Alpha อาจจะไม่ได้สร้างความประทับใจเพิ่มขึ้นซักเท่าไหร่ แต่ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเหล้าสายควันที่มี Body ไม่หนาและ Dry ดื่มได้แบบง่ายๆ ทั้งหยดน้ำและ On the rock ยกดื่มทั้งคืนแบบไม่ต้องเสียดายเงิน

Johnnie Walker Select Cask Rye Cask Finish การบ้านค้างส่ง Part 2


ตัวต่อมายังคงเป็น Johnnie Walker เหมือนเดิมรุ่น Select Cask Rye Cask Finish เป็นตัวที่ดูน่าจะรุ่นใหญ่ขึ้นมาอีกนิดที่การันตีอายุบ่ม 10ปีแน่นอน คิดค้นสูตรโดย Master Blender นาม Jim Beveridge ที่อยากให้วิสกี้มีกลิ่นของวนิลาและมีความหวานมันเหมือนครีมและจบแบบเผ็ดร้อน จึงเลือกใช้ถังใหม่จากอเมริกา บ่มจนได้อายุไม่น้อยกว่า 10ปี ก่อนเอาไปจบที่ถัง Rye Whiskey เพื่อให้ได้ความเผ็ดอย่างที่ตั้งใจ หลังจากอ่านความในใจของคุณจิมแล้วเรามาลองดูว่าจะเป็นดังนั้นหรือไม่ หลังจากเทเหล้าใส่แก้วทิ้งไว้หลายนาที เพราะดีกรีที่ใส่มาสูงถึง 46% กลิ่นเลยถีบแรงไปหน่อย

Appearance: สีทองออกจะไปทองแดงคล้ายตัวก่อนหน้า ขาเล็กยาวไหลลงมาเร็ว

Aroma: กลิ่นวนิลาติดโอ๊คชัด และมีกลิ่นน้ำตาลโมลาส

Taste: เผ็ดนำ หวานกลางลิ้น กลิ่นแอลกอฮอล์ชัด วนิลาติดมากับอบเชย คลาเมลแข็งๆ บอร์ดี้กลางๆ ทื่อ

With Water: คายความเผ็ดออกไปได้บ้าง มีกลิ่นท๊อฟฟี่ ออกมา

Finish: หวานนิดๆ ที่ปลายลิ้น เผ็ดที่คอไล่ไปถึงท้อง กลิ่นตีกลับไม่ค่อยมี

สรุป: ตัวนี้ไม่ค่อยติดใจเท่าไหร่เพราะรสชาติทำออกมาได้แข็งมากคือมาทั้งเผ็ดร้อน และกลิ่นที่ออกมาไม่ซับซ้อนอยากที่คาดหวังไว้ก็คงสมดังความในใจของคุณจิม ถ้าดื่มเอามันเน้นแซบคอก็พอได้

Johnnie Walker Red Rye Finish การบ้านค้างส่ง Part 1


วันนี้ว่างๆ อารมณ์ดีๆ ขอนำเสนอการบ้านที่ส่งมาจากแอดมินหล่ายดอยที่ผมดองไว้จนได้ที่ ด้วยความที่ไปแหย่แกเล่นๆ ว่าน่าสนใจแกก็เลยส่งมาให้ซะชุดใหญ่เลย ตัวแรกที่เอามาชิมก่อนเลยเพราะดูแล้วรสชาติน่าจะอ่อนสุดในกองคือ Blended Whisky จากเจ้าตลาดที่เราคุ้นเคย Johnnie Walker ตัวนี้ตีตราว่า Red Rye Finish เพราะฉะนั้นก็น่าจะมีกลิ่นของถัง Rye Whiskey แล้ว Rye Whiskey คืออะหยั่ง ก็ขอตอบง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดินก็คือวิสกี้ชนิดหนึ่งที่ใช้ข้าว rye เป็นส่วนประกอบหลักซึ่งนิยมอยู่ในตลาดอเมริกานะจ้า มาดูกันที่หน้าตา

Appearance: สีทองออกจะไปทองแดง ขาเล็ก-กลางค่อยๆ ไหลลงมา

Aroma: กลิ่นวนิลาโดดออกมาแบบนวลๆ มีกลิ่นแว๊กส์ๆ เล็กน้อย

Taste: กลิ่นวนิลายังโดดเด่น มีกลิ่นหวานๆ ของพวกเกสรดอกไม้ บอร์ดี้เผ็ด ติดหวานมันที่ริมฝีปากลิ่นที่ให้ความรู้สึกหวาน

With Water: กลิ่นคลาเมลมา หวานนำมาแทนจนรสเผ็ดแทบจะหายไปเลย

Finish: รสหวานติดปาก จบจางหายไปแบบสั้นๆ แต่ร้อนในคอ

สรุป: ที่ติดใจคือความหวานกับกลิ่นโทนวนิลาแต่ยังไม่เข้มถึงขั้นโอ๊คที่มาแบบตรงๆ ดื่มแบบหยดน้ำเย็นลงไปหน่อยหรือแบบ On the rock น่าจะสะดวกสุด โดยรวมถือว่าทำได้ดี ดื่มได้แบบเพลินๆ

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ Glencadam

การบ้านค้างปีจากปีที่แล้ว ถมเอาเยอะจนจำไม่ได้ว่าได้มาจากเพื่อนคนไหน ต้องขออภัยด้วยจริงๆ ครับ

สำหรับ Glencadam ขวดนี้เป็น SM จากย่าน Highland ใช้ Unpeated Malt มาผลิด
เอกลักษณ์สำคัญสำหรับโรงกลั่นนี้บอกว่าเป็น Creamy Malt เด่นในกลิ่นแนว Berry กับขนมหวานหลังอาหาร
ตัวที่ได้มาสังเกตจากสี และกลิ่นแล้วเข้าใจว่าน่าจะเป็นรุ่น 10 ปีครับ
สำหรับขวดนี้ได้คะแนนรีวิวจาก MJ. Completed Guide to SM ที่ 73 คะแนน
และได้คะแนนจาก Jim Murray's Whisky Bible 2016 ถึง 95 คะแนน โดยแบ่งเป็น
Nose 24 Taste 24 Finish 23 Balance 24

คราวนี้เรามาว่ากันแบบลิ้นบ้านๆ บ้างดีกว่า
สี ทองสุกใส ค่อนข้างใสเลยก็ว่าได้ครับ

กลิ่น ค่อนข้างเห็นด้วยกับ Jim Murray คือกลิ่นดีงามมาก Strawberry Vanilla Clean Malt
กลิ่นสะอาดๆ ใสๆ ไม่มีกลิ่น Peat เป็นกลิ่นอบแห้ง ไม่ใช่กลิ่นแดด เหมือน Glengoyne
Citrus บางๆ กลิ่นแนวทางของ Highland ที่ค่อนข้างชัดเจนดีครับ

รสชาติ สร้างความประหลาดใจให้ผมพอควรเลย สัมผัสแรกนึกถึงแยม Strawberry แปลกใหม่ดี
ตามด้วยกลิ่นสดๆ ของ Barley Malt ความหวานค่อนข้างเด่น แต่ไม่ใช่ความหวานของคาราเมล
เป็นความหวานแนวผลไม้ กับขนมที่กินหลังอาหารกัน ประมาณนั้นครับ

Aftertaste ทิ้งความมันตามที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงกลั่นไว้ในปาก กับกลิ่นหอมๆ ของผลไม้จำพวก Berry
แต่พอเจือน้ำลงไปกลับรู้สึกถึงความหวานจนขมไปซ่ะอย่างนั้น

Conclusion รู้สึกคิดผิดที่เจือน้ำลงไปดื่มด้วย ดื่มแบบ Neat น่าจะลงตัวที่สุดละครับสำหรับผม
ให้สัมผัสที่กำลังดี รวมๆ จัดว่าค่อนข้างดีงามสำหรับสายหวานที่ชอบแนว Highland

ป.ล. ความเห็นทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องนะครับ

Glenmorangie Duhtac

ใกล้สิ้นปีแล้วรีบเคลียร์เหล้าขวดเก่าๆ ที่เปิดทิ้งไว้แต่ยังไม่ได้เขียนกันอีกสักขวดครับ
สำหรับ Glenmorangie Duthac ขวดนี้เป็นหนึ่งในซีรี่ย์ Legends จากค่าย Glenmorangie
ผ่านการ finish ด้วยถัง Pedro Ximenez (PX) และ Virgin Oak
ตั้งชื่อรุ่นตาม St. Duthac ซึ่งมีวิหารอยู่ใกล้ๆ กับโรงกลั่น Glenmorangie
สำหรับซีรี่ย์ Legends นั้นจะวางจำหน่ายเฉพาะใน Duty Free เท่านั้นโดยจะมีออกมาปีละ 1 ครั้ง
สำหรับรุ่นนี้เป็นของปี 2015 ครับ ส่วนปีนี้เป็นรุ่น Tayne ครับ

เริ่มกันตามประสาลิ้นบ้านๆ กันดีกว่าเนาะ
สี ออกไปทางทองแดงพอสมควรคงเพราะผ่านการบ่มด้วยถัง PX

กลิ่น sherry, Chocolate Milk กลิ่นตัวน้องแอลพอประมาณ Toffee Caramel รวมๆ แล้วค่อนข้างถูกใจกับกลิ่นมากครับ

รสชาติ เผ็ดนำตามด้วย Sherry เป็นความเผ็ดที่ค่อนข้างลงตัวสำหรับผมนะ หลายคนบอกว่าเผ็ดเกิน
ตามด้วยความหวาน พร้อมกับกลิ่นควันเบาๆ ที่ตีย้อนกลับขึ้นมา

Aftertaste กลางๆ ไม่ยาวมาก ให้สัมผัสที่ลงตัว ให้ความรู้สึกอุ่นๆ ค้างอยู่ในปากพอควร
รวมๆ แล้วคอ่นข้างใช้ได้ครับ

Conclusion จัดว่าดีแต่... สร้างความประทับใจได้ไม่มากเท่าสายหลักที่ระบุอายุปี
ถ้าเอาไปเทียบกับรุ่น Sonnalta PX ที่เป็น Private Collection รุ่นนั้นถึงจะพบกันเมื่อสาย แต่ก็ให้ความประทับใจได้มากกว่าเยอะ
แต่ในบรรยากาศวันที่ดื่มคือ หลังฝนตกในช่วงต้นฤดูหนาว ก็จัดว่าค่อนข้างเข้ากันได้ดีพอควร

ป.ล. 1. คงเป็นเพราะผมชอบอาหารรสจัด สำหรับความเผ็ดจาก Duthac ผมก็ว่าไม่หนักมาก แต่เพื่อนๆ หลายคนบอกว่าเผ็ดไปหน่อย

ป.ล. 2. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ Triple Blended Speyside Malt (Kamer Blend) by Jack

สำหรับขวดนี้เป็นอีกหนึ่งการ Blended Malt จากคุณ Jack แจ้งว่าเป็นการ Blend ด้วย Malt จาก Speyside จำนวน 3 ชนิด
ก็เอาเป็นว่าลองมั่วๆ กันตามประสาลิ้นบ้านๆ ละกันครับ เดี๋ยวมีเฉลยท้ายกระทู้ครับ

เริ่มกันที่สี ทองอำพันติดค่อนข้างเหลืองทอง

กลิ่น Citrus เจือด้วยควันนิดๆ มะละกอสุกนิดหน่อย กลิ่นตัวน้องแอลไม่ค่อยมากแต่ก็พอมีอยู่บ้างเล็กน้อย
รวมๆ แล้วกลิ่นถือว่าค่อนข้างดีงามเลย

รสชาติ สัมผัสแรกเผ็ดคล้ายพริกไทย ตามมาด้วยความหวานนิดๆ Oak แล้วก็ปิดท้ายด้วยความเผ็ดปนด้วยความงงหน่อยๆ
เนื้อเหล้าค่อนข้างบางจนคิดว่าเป็น N.A.S.

Aftertaste ค่อนข้างสั้นแบบชวนสงสัยว่ามีอะไรเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง ให้เดาน่าจะมี Glenfiddich ไม่ก็ Cragganmore อยู่ด้วยแน่ๆ

Conclusion ไม่ขี้เหร่ แล้วก็ผ่านอยู่ครับ จิบได้สบายๆ ดี

เฉลยจากคุณ Jack
Glenfarclas 12 90% -- 200 ml
Balvenie 17 5% --- 10 ml
Glenfiddich 15 solera 5% --- 10 ml

จากเฉลยนี้ผมค่อนข้างสับสนเลยครับ เพราะเข้าใจมาตลอดว่า Glenfarclas เป็น Highland ทำให้พลาดไปไกลเลย
คงต้องเรียนรู้และหาข้อมูลเพิ่มกันอีกแล้วละสิ

ขอบคุณ คุณ Jack ที่ผสมมาให้ได้ทดลองกันครับ

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ Special Blended Malt By Jack Adisorn #2

การบ้านค้างปีขวดนี้ได้รับมาจากคุณ Jack ค่อนข้างนานมากละครับ ก็ขอเอามาเล่าสู่กันฟังตามประสาลิ้นบ้านๆ เช่นเคยครับ
เดี๋ยวตอนท้ายมีเฉลยส่วนผสมให้ครับ

เริ่มกันที่สี ทองใสๆ แต่ขากลับค่อนข้างหนืดใช้ได้เลยทีเดียว

กลิ่น Peat Smoke ค่อนข้างชัดเจน เจือด้วยกลิ่นหอมหวาน Caramel หน่อยๆ กลิ่น Peat และควันค่อนไปทาง Ardbeg กับ Talisker

รสชาติ หวานนำ ตามด้วยควันใสๆ เบาๆ ไม่หนักมาก Peat เบาๆ ในปาก รวมๆ แล้วค่อนข้างดีน่าประทับใจ

Aftertaste พอประมาณ ควันไฟ กับอาการ Burn ลิ้นนิดหน่อย แต่อร่อยได้ใจ
ทิ้งกลิ่นไม้ไหม้ และ Peat Smoke ไว้ในปากค่อนข้างดีงาม

Conclusion สำหรับตัวนี้คือ น่าสนใจอยากรู้สูตรเลย


***หมายเหตุ*** เฉลยจากคุณ Jack สำหรับส่วนผสม
Big Peat 80%
AnCone 16 20%
ป.ล. Big Peat มีส่วนผสมคือ Ardbeg, Caol Ila, Bowmore, Port Ellen ครับ

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ Lagavulin 16 Yo

Lagavulin ขวดนี้ผมได้มาจากเฮีย City อีกเช่นเคย Lagavulin 16 เป็นอีก 1 ใน 101 Whiskies to try before you die
และได้คะแนนรีวิวที่ค่อนข้างสูงถึง 95 คะแนนจาก Jim Murray's Whisky Bible 2016
แบ่งเป็น Nose 24 Taste 24 Finish 23 และ Balance 24
คะแนนระดับนี้ย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน (คหสต. Whisky สายควันมักจะได้คะแนนระดับค่อนข้างสูงจากหลายสำนักของฝรั่ง)

คราวนี้เรามาว่ากันตามประสาลิ้นบ้านๆ กันบ้างดีกว่า
เริ่มกันที่สี ออกทองแดงเข้มๆ นิดๆ ติดไปทาง Whisky ที่ผ่านการบ่มด้วยถัง Sherry แน่นอน

กลิ่น ได้กลิ่นคล้าย Apple Cider, Peat ควัน ไอทะเล กลิ่นไอโอดีน รวมๆ แล้วดมได้เพลินดีครับ
กลิ่นตัวน้องแอลค่อนข้างเจือจาง

รสชาติ ควันมาเต็มปากเต็มคอดี ตามมาด้วยความหวานติดปลายลิ้น และปิดท้ายขบวนด้วยขี้เถ้า Carbon กาแฟนิดๆ วนิลาหน่อยๆ
แบบชวนให้อยากยกดื่มวนไปเรื่อยๆ

Aftertaste เผ็ดนิดๆ ไม่มายมาย กลิ่นควันตลบอบอวลอยู่ในปากยาวเหยียด
ยิ่งถ้าได้ดื่มคู่กับ Shortbread นี่มีเพลินเป็นความลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ

Conclusion เป็นอีกหนึ่งตัวที่ควรมีติดเป็นเหล้าสามัญประจำบ้านได้เลย
ยิ่งในช่วงอากาศเย็นๆ ในฤดูหนาวแบบนี้ จิบไปฟินไปกับเพลงที่ชอบ พ่วงด้วย Shortbread ด้วยแล้ว....
"ความอ้วน" อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว

04-12-2559 ชิมแล้วมาเล่าตามประสาลิ้นบ้านๆ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ Glenfarclas 21 Yo. Alc.43%

สำหรับ Glenfarclas 21 ขวดนี้ผมได้รับการบ้านมาจากคุณภัทร LoveLove Love มาได้สักระยะหนึ่งละครับ
ข้อมูลเบี้องต้นเป็น Single Malt จากย่าน Highland ที่ติดอันดับ 101 whiskies to try before you die. ด้วยครับ
มาพร้อมกับ 89 คะแนน จาก MJ Complete Guide to Single Malt และ
83 คะแนนจาก Whisky Bible 2013 โดยแบ่งเป็น กลิ่น 21 รสชาติ 23 finished 19 และ balance 21
จากข้อมูลเบี้องต้นไปแล้ว คราวนี้เรามาว่ากันตามประสาลิ้นบ้านๆ กันบ้างดีกว่า

สี ทองอำพันค่อนข้างเข้ม ติดไปทางสีเหลืองเข้มเหมือนพวกทองเก่า ไม่ออกทางสีทองแดงครับ

กลิ่น คารเมล เนย ผลไม้สุกพวกเชอรี่สด มะนาว ถังไม้ Oak หอมๆ ให้สัมผัสกลิ่นที่บางเบาไม่ฉุน กลิ่นตัวน้องแอลแทบไม่มีเลย

รสชาติ สัมผัสแรกอบอุ่น ตามด้วยความเผ็ดร้อนซ่าๆ ด้วยรสชาติของเครื่องเทศที่ร้อนแรง ขิงนิดๆ
เนื้อเหล้าติดจะบางๆ ไปนิด (สำหรับผม) เมื่อเทียบกับเหล้าสูงอายุตัวอื่นที่เคยผ่านมา

Aftertaste ทิ้งความเผ็ดร้น เจือด้วยกลิ่นหอมใสๆ ไว้ในปากค่อนข้างนาน แต่ก็เหมือนไม่ค่อยจะสุดสักเท่าไหร่ ค้างๆ คาๆ บอกไม่ถูก

Conclusion ค่อนข้างเฉยๆ สำหรับตัวนี้ และไม่แปลกใจที่ได้คะแนนไม่สูงมากจากทั้ง MJ และ Whisky Bible
หากมีวางเรียงกันให้เลือกหยิบระหว่าง 12 / 17 /21 คงเลือกตามนี้ครับ 21<17<12 คือเลือกที่จะหยิบ 12 อย่างไม่ลังเล
เพราะทั้งรสชาติ และความคุ้มค่าที่ให้คือดีงาม โดยเฉพาะหากคิดจะดื่มในช่วงหน้าหนาวอย่างนี้ด้วยครับ

คหสต. ค่อนข้างจะเผ็ดร้อนไปสักหน่อย ผิดวิสัยของ whisky จากย่าน Highland
รวมๆ ก็จัดว่าใช้ได้ติดก็ตรงเผ็ดเกินไปนี่แหละครับ ชอบ Balance กับ Finished รวมๆ ของ 12 ปีมากกว่าสำหรับตระกูลนี้ครับ

ป.ล. ความเห็นที่ให้เป็นความเห็นส่วนตัวล้วนๆ ไม่รับประกันความถูกต้องเหมือนเช่นเคยครับ

เมาไม่รั่วมั่วส่งการบ้านกับ ILEACH Islay Single Malt CS 58%

สำหรับ ILEACH ขวดนี้ผมได้รับน้ำปลามาจากเพื่อนใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่นานครับ ต้องขอขอบคุณอีกครั้งครับ
จากข้อมูลที่หามาได้สำหรับ ILEACH ขวดนี้เป็น SM จากย่าน Islay ที่ไม่ระบุโรงกลั่น แถมยังเป็น CS อีกด้วย
ข้อมูลจาก Master of Malt บอกว่าได้คะแนนถึง 97 จาก Jim Murray's Whisky Bible 
แต่จากหนังสือที่ผมมีทั้ง edition ปี 2013 กับ 2016 กลับหาไม่เจอครับ 
ก็เอาเป็นว่าลองแล้วเล่ากันไปตามประสาลิ้นบ้านๆ ละกันครับ
เริ่มที่สี เหลืองทองอำพันสวยงามดีครับ

กลิ่น กลิ่นแรกตอนที่รินออกมานี่ก็ Peat Smoke ที่คุ้นเคยคล้ายกับ Peat ของทาง Laphroaig รวมทึงมีกลิ่น Hospital ซ๋ะด้วยสิ
นี่ถ้าโดน Blind Test ผมอาจคิดว่าเป็น Laphroaig เลยครับ ตามด้วยกลิ่นไอโอดีน
ด้วยความที่ตัวนี้เป็น CS จากประสบการณ์ที่ผ่านมาขอเติมน้ำแร่ลงไปก่อนเลยน่าจะดีกว่า
ไม่ผิดหวังกลิ่นเปิดขึ้นมาอีก ได้กลิ่นไอทะเล เพิ่มขึ้นมา พร้อมกับกลิ่นตัวน้องแอลอีกเล็กน้อย

รสชาติ สัมผัสแรกชวนให้คิดถึง Laphroaig มาก Carbon smoke ตามด้วยอาการ Burn ของน้องแอลที่ซ่าไปทั่วทั้งปาก
ชวนให้นึกไปถึง Laphroaig Quarter Cask ที่เผ็ดร้อนมากกว่าตัว Laphroaig 10

Aftertaste ทิ้งความซ่า และเผ็ดร้อนไว้ในปากยาว พร้อมทั้งกลิ่นควัน peat หนักๆ นี่ขนาดว่าเจือน้ำแร่ลงไปตั้งแต่แรกแล้ว
ก็ยังรู้สึกได้ถึงความเผ็ดร้อน พลังหนุ่ม และความเป็น CS ได้ชัดเจนมาก

Conclusion น่าจะเหมาะกับคนที่ชอบสายควันแบบหนักหน่วง หรือเหมาะที่จะเอามาตัดความหวาน
ถ้าจะให้ดีควรดื่มช่วงหน้าหนาวในวันที่อากาศค่อนข้างเย็นน่าจะเหมาะมากครับ

คหสต. จัดว่าชอบอยู่ประมาณหนึ่งครับ แค่คงไม่หามาเป็นเหล้าสามัญประจำบ้านแน่ มีโอกาสได้ลองเพื่อรู้ก็พอละครับ


ขอบคุณเพื่อนใหม่แปลกหน้าที่ส่งมาให้ลองครับ ยังเหลือการบ้านอีก 3 ขวดเดี๋ยวทะยอยส่งให้นะครับ 

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

Linkwood 12years "ซิกจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้าย"

"ซิกจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้าย"

เมื่อคุณได้ก้าวเข้าสู่โลกของวิสกี้ ผมเชื่อว่าแทบทุกคนต้องเคยลิ้มลอง Johnnie Walker และรุ่นที่นักดื่มสายเน้นรสชาติชอบหยิบยกขึ้นสนทนาในวงเหล้าก็คงหนีไม่พ้นรุ่น Green Label เพราะตัวมันเองเป็น Blended Malts เพียงรุ่นเดียวในตระกูลแถมยังมีการเขียนที่มาของรสชาติไว้หลังกล่องอย่างชัดเจน ประกอบด้วย Whisky จาก 4 โรงกลั่นได้แก่ Talisker, Cragganmore, Caol Ila และ Linkwood เพื่อให้เข้าใจถึงรสชาติพวกเราก็พยายามเสาะหา Single Malt เดี่ยวๆ จากโรงกลั่นข้างต้นมาลองกัน ซึ่ง 3 ตัวแรกก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เหลือเพียง Linkwood ตัวเดียวนี่แหละที่หามา 8 ปีแล้วก็หามันไม่เจอ...แต่แล้วเหมือนฟ้าประทานส่งมันมาเกิดให้ได้ลองกันในงานของกลุ่มมักเหล้าคลับ

Appearance: สีทองอ่อนใสๆ และมีขาเล็กยาวระดับกลาง

Aroma: กลิ่นอ่อนๆ ลักษณะหอมสดชื่นของทุ่งหญ้า ดอกไม้ มีกลิ่นถั่วๆ เล็กน้อย ติดพริกไทยสดหน่อยๆ

Taste: รสหวานอ่อนๆ สัมผัสเผ็ด บอร์ดี้พอมีสมตัว วนๆ มากับกลิ่นน้ำผึ้ง

Finish: จบไม่ยาวมาก เผ็ด สดชื่น และไม่รู้สึกเลี่ยน
 
สรุปเป็นวิสกี้ที่ดื่มสนุกมีความสดชื่นหอมทุ่งหญ้า น้ำผึ้ง สมุนไพรอ่อนๆ แต่แฝงด้วยความเผ็ดและร้อน บอร์ดี้กำลังดีมากลางๆ ไม่สั้นไม่ยาว ยกน้ำตามล้างปากแล้วอยากจะยกต่ออีกซักแก้ว ได้ถั่วซักจานคงอยู่ได้แบบยาวๆ เลย